การศึกษาทัศนศิลป์ในประเทศไทยดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ มีเนื้อหาพอสังเขปเพียงเพื่อ ให้รู้ว่าศิลปะในประเทศไทย แต่ละสมัยมีลักษณเด่นะเฉพาะอย่างไร เพื่อนำไปใช้ประกอบการศึกษา ด้านความงาม การวิจารณ์ศิลปะ ต่อไป ซึ่งหากผู้สนใจในรายละเอียด ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ จากวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ วิชาศิลปะนิยม และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หากจะย้อนกลับมาพิจารณาศิลปกรรมไทยโดยส่วนกว้าง เราก็จะพบว่าศิลปกรรมไทยก็มิได้แตกต่างไปจากศิลปกรรม ของชาติอื่น ๆ ในประเด็นที่มีการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงเสมอมา โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้งลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีทั้งที่เปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบหรือประเด็นปลีกย่อย และมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระชนิดแยกขาดออกจากสิ่งเดิมอย่างชัดเจน ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโครงสร้างใหญ่ ๆ ของสังคมเปลี่ยนไปนั่นเอง
สำหรับยุคสมัยของศิลปกรรมไทยนั้น นักประวัติศาสตร์ศิลป์ได้แบ่งออกได้ ตามแนวทางใหญ่ ๆ 3 แนวทางคือ
แนวทางที่ 1 แบ่งตามลักษณะของการก่อตั้งราชอาณาจักร หรือศูนย์กลาง อำนาจ ทางการเมืองเป็นเครื่องแบ่ง เช่นอาจแบ่งใหญ่ ๆ ออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยแรก ก่อนที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศ และสมัยหลังที่ชนชาติไทยเข้าปกครอง ประเทศแล้ว สมัยแรกแบ่งออกได้อีกเป็น 5 สมัย คือ สมัยวัตถุรุ่นเก่าที่ค้นพบในประเทศไทย สมัยทวาราวดี สมัยเทวรูปรุ่นเก่าสมัยศรีวิชัย และสมัยลพบุรี สมัยหลังก็แบ่งออกเป็น 5 สมัยเช่นกัน คือ สมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา และ สมัยรัตนโกสินทร์
แนวทางที่ 2 แบ่งตามสกุลศิลปะพระพุทธรูปในประเทศไทย โดยยึดหลัก รูปแบบของการ รับอิทธิพล มาเป็นเครื่องวัดโดยแบ่งเป็นสกุลศิลปไทย–คุปตะ สกุลศิลปไทย-ปาละ สกุลศิลปไทย ปาละ-เสนะ สกุลศิลปไทย-โจฬะ เป็นต้น
แนวทางที่ 3 แบ่งนักประวัติศาสตร์บางท่านก็แบ่งตามแบบอย่างศิลปะ ที่แสดงออกเป็น 8 สมัย คือ สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์
แนวทางการการแบ่งยุคสมัยของศิลปไทยที่กล่าวมา แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็ยึดตามเกณฑ์ใหญ่ ๆ ร่วมกัน คือ 1. เกณฑ์ทางศูนย์กลางแห่งความเจริญของอาณาจักร 2. เกณฑ์ทางอิทธิพลทางการปกครองและทางศาสนา 3. เกณฑ์ทางรูปแบบอย่างศิลปกรรมที่แตกต่างกัน 4. เกณฑ์ทางวิวัฒนาการของสังคม
ในบทนี้ จะแบ่งศิลปะในประเทศไทยตามแแนวทางที่ 3 เพราะแนวทางนี้ ทำให้ได้เห็นการพัฒนา แบบอย่าง และแนวทางการสร้างงานตามสังคม และอิทธิพล ที่ได้รับอย่างเด่นชัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 สมัย คือ
1. สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) 2. สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18) 3. สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) 4. สมัยเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 16 - 23) 5. สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20) 6. สมัยอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ 17 - 22) 7 . สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 18 - 23) 8 . สมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24 - ปัจจุบัน)
|
|
|
|
| |
/home/bck%20grnd/suuhd%20thai/01tavara.jpg)
|
| |
Back to Top
|
| |
|
| |
ตามจดหมายเหตุของนักพรตจีนที่ชื่อว่า เหี้ยนจัง (Hiuan Tsang) ได้กล่าวว่า ระหว่างประเทศ กัมพูชาและประเทศพม่ามีอาณาจักรแห่งหนึ่งมีชื่อว่า โทโลโปตี้ (Tolopoti) หรือทวาราวดีนั่นเอง โดยเข้าใจกันว่าศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีอยู่ที่นครปฐม โดยมีเมืองต่าง ๆ ร่วมสมัยอยู่หลายเมือง เช่น ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี กาฬสินธุ์ เมืองทั้งหลายดังกล่าวแล้วนี้มีการค้นพบ ศิลปะวัตถุและโบราณสถานสมัยทวาราวดีเป็นจำนวนมาก
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/99%202.JPG) | |
ประติมากรรม
ได้แก่พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องปูนปั้น ดินเผาและมีทั้งประทับนั่ง และยืน ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ มีขมวดพระเกศใหญ่ พระพักตร์แบบพระขนงทำเป็นเส้นนูนโค้งติดต่อกันดังรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์แบะและใหญ่ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ สำหรับพระพิมพ์เริ่มมีขึ้นในอินเดีย เพื่อเป็นที่ระลึกว่าประชาชนอินเดียที่นับถือ พุทธศาสนาได้ไปบูชาสังเวชนียสถานในพุทธศาสนา แต่ต่อมาประชาชนอินเดียที่นับถือพุทธศาสนา ได้สร้างขึ้นไว้เป็นที่เคารพบูชา และเพื่อให้พระพุทธรูปและพระธรรมอันเป็นหัวใจ ศาสนาปรากฏอยู่ ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงชอบสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์สถานเป็นการสืบอายุ พระพุทธศาสนา พระพิมพ์สมัยทวาราวดี ชอบสร้างด้วยดินเผา
(ซ้าย) พระพุทธรูปศิลาขาว ศิลปะทวาราวดีปางปฐมเทศนา
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/Wat%20Mahatat.jpg) | |
สถาปัตยกรรม
ได้แก่ โบราณสถาน เช่น เจดีย์ วัด สถูป สำหรับเจดีย์นครปฐม ถ้ายกเอาประปรางค์ที่อยู่ข้างบนออกจะเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายสถูปที่สร้างครั้งประเจ้าอโศก เช่น สถูปที่เมืองสาญจี แสดงว่าสถาปัตยกรรมในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียเช่นกัน ทางด้านใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ ได้มีการจำลองพระปฐม ดังนั้นลักษณะของสถูปหรือ เจดีย์ในสมัยทวาราวดีนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ก็จะทำเป็นฐานสี่เหลี่ยมมีองค์ระฆังเป็นรูปโอคว่ำ และมียอดแหลมอยู่ข้างบน กับอีกแบบหนึ่งซึ่งมีฐาน เป็นรูปเหลี่ยมเช่นกันแต่มีองค์ระฆังเป็นรูป คล้ายกับบาตรคว่ำและมียอดทำเป็นแผ่นกลม ๆ วางซ้อนกันขึ้นไป ข้างบน บนยอดสุดมีลูกแก้ว
(ซ้าย) เจดีย์ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ระฆังเป็นรูปโอคว่ำ
|
| |
/home/bck%20grnd/suuhd%20thai/02srivchi.jpg)
|
| |
Back to Top
|
| |
สมัยศรีวิชัย
|
| |
ศรีวิชัยเป็นชื่ออาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ได้ปกครองสุมาตรา ชวา มะลายู และดินแดนบางส่วน ทางภาคใต้ของไทย ดังนั้นศิลปกรรมที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ ของไทยในขณะนั้น จึงได้ชื่อว่า ศิลปะแบบศรีวิชัย แต่ก็มีการถกเถียงกันมากระหว่างนักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ว่า อาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ใดกันแน่ ระหว่างเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีของไทย กับเมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตรา
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/97%201.JPG)
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หล่อด้วยสำริดที่เหลือเพียงครึ่งองค์ แต่ได้รับการยกย่องว่า เป็นปฏิมากรรมหล่อสำริด ที่มีทรวดทรงงดงาม | |
ประติมากรรม
มีทั้งพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ตลอดจนพระพิมพ์ดินเผาและดินดิบ ประติมากรรมแบบศรีวิชัย ได้รับอิทธิพลจาก 1. ศิลปอินเดีย แบบคุปตะ และหลังคุปตะ 2. ศิลปอินเดียแบบปาละ เสนะ 3. ศิลปขอมหรือลพบุรี
สำหรับพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ส่วนมากทำด้วยสัมฤทธิและศิลาพบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สันนิฐานว่าที่อำเภอ ไชยา คงเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่สำคัญ ในสมัยศรีวิชัย เพราะโบราณวัตถุต่างๆ จะพบที่ไชยาทั้งสิ้น พระโพธิสัตว์ที่เก่าที่สุดคือพระโพธิสัตว์ซึ่งสลักด้วยศิลา ถูกค้นพบที่อำเภอไชยา ซึ่งได้รับอิทธิพลแบบคุปตะ ส่วนพระโพธิสัตว์ที่สวยงามที่สุด คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ค้นพบที่อำเภอไชยา แต่เหลือเพียงครึ่งองค์ ได้รับอิทธิพลศิลปแบบหลังคุปตะและปาละเสนะ พระพิมพ์ส่วนมากทำด้วยดินดิบ คงจะไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา เหมือนพระพิมพ์ดินเผา หรือโลหะ เพราะแตกหักง่าย แต่คงเพื่อประโยชน์ของพระสงค์ที่มรณะภาพ หรือบุคคลที่ตายไปแล้วเมื่อเผาศพพระสงฆ์ที่มรณะภาพ หรือบุคคลที่ตายไปแล้ว ก็จะนำเอาอัฐิโขลกเคล้ากับดิน แล้วอัดเข้ากับแม่พิมพ์ เมื่อถอดพิมพ์แล้วก็ไม่ต้องนำไปเผาอีก จึงเรียกว่าพระพิมพ์ดินดิบ
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/chaiya.jpg) | |
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยมีอยู่มากที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎ์ธานี เช่น พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรดาเจดีย์ในเกาะชวามาก มีฐานเตี้ยรองรับ อาคารแบบย่อมุม และมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศและมียอดทำเป็นฉัตร
(ซ้าย) พระบรมธาตุไชยาที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะเป็นเจดีย์หลายยอด หรือเรียกว่า ยอดแซง โดยมียอดสำคัญที่องค์ใหญ่อยู่ตรงกลางแบบเจดีย์ของชวา ซึ่งเป็นลักษณะเจดีย์ทรงปราสาท กล่าวคือ มีหลังคาหลายชั้น มีซุ้มจรนำทั้งสี่ด้าน |
| |
/home/bck%20grnd/suuhd%20thai/08lopbri.jpg)
|
| |
Back to Top
|
| |
สมัยลพบุรี
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/02%201.JPG) | |
ได้มีการค้นพบประติมากรรมและสถาปัตยกรรมสมัยลพบุรี ทางภาคกลาง ได้แก่ เมืองลพบุรี และ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับประติมากรรมและ สถาปัตยกรรม ของขอมในประเทศกัมพูชามาก ศิลปะขอมได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จนมีลักษณะเป็นของตนเอง ศิลปะขอมมีทั้งที่ทำขึ้นในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ถ้ากษัตริย์องค์ใดนับถือพุทธศาสนาจะสร้างศิลปะในพุทธศาสนา ถ้ากษัตริย์องค์ใดนับถือศาสนา พราหมณ์ ก็จะสร้างศิลปะในศาสนาพราหมณ์ ศิลปะขอมได้แผ่เข้ามาทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเฉพาะที่ลพบุรีหรือละโว้ ว่ากันว่าขอมส่งอุปราชเข้ามา ปกครอง ดังนั้นลพบุรีจึงใช้เป็นชื่อศิลปะลักษณะนี้ คำว่าศิลปลพบุรีนั้นใช้รวมถึง โบราณสถานขอมซึ่งค้นพบในประเทศไทยด้วย
(ซ้าย) ประติมากรรมสมัยลพบุรี
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/25%201.JPG) | |
ประติมากรรม
ลักษณะพระพุทธรูปสมัยลพบุรี มีหน้าผากกว้าง คางเป็นเหลี่ยม ปากแบะ ริมฝีปากหนา พระขนงนูนเป็นสัน พระนาสิกโค้งและยาว พระหณุเป็นปมป้าน ไรพระศกที่ต่อกับพระนลาฏหนาโต อุณหิศใหญ่เป็นรูปฝาชี มีลวดลายคล้ายมงกุฎเทวรูป มีทั้งพระพุทธรูปประทับนั่งและยืน ในสมัยนี้ชอบสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิปางนาคปรกกันมาก พระพุทธรูปมีทั้งหล่อด้วยสัมฤทธิ์ และสลักด้วยศิลา สำหรับพระพุทธรูที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์มักชอบหล่อเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว หรือหลายองค์ อยู่เหนือฐาน อันเดียวกันนอกจากนี้ก็ยังมีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือนางปัญญาบารมี เทวรูปก็มี เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพิมพ์ ทั้งที่สร้างด้วยดินเผาและโลหะ พระพิมพ์สมัยนี้มักมีรูปพระปรางค์ เข้ามาประกอบเสมอ
(ซ้าย) พระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/49%201.JPG) | | /unt3/thaipic/Thai%20art2/27%201.JPG) |
/unt3/thaipic/Thai%20art1/118%201.JPG) | | (บน) ทับหลัง ประติมากรรมสมัยลพบุรีแกะสลักด้วยหิน เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมลพบุรี
(บน) พระปรางค์สามยอดลพบุรี
สถาปัตยกรรม
โบราณสถานในสมัยลพบุรี มักก่อสร้างด้วยหินทราย ศิลาแลง และอิฐ สร้างขึ้นทั้งในศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ์ ที่สำคัญได้แก่ - ปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี - ปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี - ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา - ปราสาทหินศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ - ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ - ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์
|
| |
/home/bck%20grnd/suuhd%20thai/04chngsng.jpg)
|
| |
Back to Top
|
| |
สมัยเชียงแสน
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/29%201.JPG)
ประติมากรรมเชียงแสนรุ่นที่ 1 หรือรุ่นแรก | |
ศิลปะเชียงแสน นับว่าเป็นศิลปะไทยอย่างแท้จริง ศิลปะสมัยเชียงแสน หมายถึง ศิลปะที่กำเนิดขึ้นในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยคำว่าเชียงแสนเป็นชื่อเมืองเก่าที่สำคัญเมืองหนึ่ง ในจังหวัดเชียงราย และการที่ได้พบประติมากรรมบางชิ้นที่งดงาม เมืองเชียงแสนจึงได้เรียกศิลปะที่ค้นพบว่า ศิลปะแบบเชียงแสน เจริญรุ่งเรืองแพร่กระจายไปทั่วภาคเหนือ ตลอดถึงเมืองเชียงใหม่ เมื่อเมืองเชียงใหม่มีอำนาจขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีพ่อขุนเม็งรายเป็นผู้นำ หลังจากนี้ทรงมีอำนาจครอบคลุมทั่วภาคเหนือเรียกว่า “อาณาจักรล้านนา” มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ประติมากรรม
ได้แก่ พระพุทธรูปทั้งที่หล่อด้วยสำริดและปั้นด้วยปูน พระพุทธรูปเชียงแสนมี 2 รุ่น คือ
รุ่นที่ 1 เป็นพระพุทธรูปที่มีพระรัศมีเป็นดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูนและกว้าง ดุจหน้าอกสิงห์ ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้นปลายมีแฉกเป็นเขี้ยวตะขาบ ชอบทำปางมารวิชัยและขัดสมาธิเพชร (แลเห็นฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง) และที่ฐานจะทำเป็นรูปบัวคว่ำและบัวหงาย เป็นพระพุทธรูปที่มีอิทธิพลแบบปาละของอินเดีย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/31%201.JPG)
ประติมากรรมเชียงแสนรุ่นที่ 2 หรือรุ่นหลัง | |
รุ่นที่ 2 หรือเรียกว่าเชียงแสนรุ่นหลังหรือเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย มีลักษณะที่สังเกตุได้คือ พระรัศมี เป็นดอกบัวตูมที่สูงขึ้น บางครั้งก็เป็นเปลวแบบสุโขทัย ขมวดพระเกศาเล็ก พระวรกาย บางองค์ก็อวบอ้วนและพระอุระนูน แต่มีชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ชอบทำนั่งขัดสมาธิราบ ประติมากรรมรูปปั้นรูปเทวดาและนางฟ้า ที่ประดิษฐานเจดีย์ วัดเจ็ดยอด (ภาพล่าง) สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีทรวดทรงเช่นเดียวกับพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่น 2 ซึ่งนับว่าเป็นประติมากรรมที่งดงามมากอีกแห่งหนึ่ง
วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/73%201.JPG)
พระธาตุหริภูญไชย จังหวัดลำพูน สถาปัตยกรรมเชียงแสน มีองค์เจดีย์ทรงกลม | |
สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสน
สถาปัตยกรรม
ได้แก่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์หรือกู่ (เรียกตามภาษาพื้นเมือง) หอไตร ตลอดจนบ้านเรือนทั่วไปล้วนมีลักษณะเฉพาะตัวโบสถ์ วิหาร ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นแบบทรงสูงซ้อนกันหลายชั้น ลดหลั่นขึ้นไปถึงยอด หลังคาโบสถ์ วิหารสมัยเชียงแสนมีลักษณะพิเศษคือ “เป็นหลังคาที่แสดงโครงสร้างเปิดเผย” คือไม่มีฝ้าเพดาน จึงสามารถมองเห็นเครื่องหลังคาเกือบทุกชิ้น การประดับตกแต่งอาคารนิยมตกแต่งด้วยเครื่องไม้แกะสลักและลายรูปปั้น ลักษณะเจดีย์แบบทั่ว ๆ ไปของเชียงแสนจะมีฐานสูงมาก องค์ระฆังถูกบีบให้เล็กลง มีบัลลังก์ปล้องไฉนและที่ยอดมีฉัตรกั้น เจดีย์บางองค์เป็น 8 เหลี่ยม และบางองค์เป็นเจดีย์ทรงกลม เจดีย์เชียงแสนที่ได้อิทธิพลจากสุโขทัย เช่นองค์เจดีย์จะเป็นทรงกลมแบบลังกา แต่มีฐานสูงย่อมุม
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/-doi-sutep%201.JPG) | |
(บน) ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมเชียงแสน คือหลังคาซ้อนกันหลายชั้น และโชว์โครงสร้างภายใน
(ซ้าย) พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ สถาปัตยกรรมเชียงแสน มีองค์เจดีย์เป็นรูปทรง 8 เหลี่ยม |
| |
/home/bck%20grnd/suuhd%20thai/05sukothi.jpg)
|
| |
Back to Top
|
| |
สมัยสุโขทัย
|
| |
ความเจริญของอาณาจักรสุโขทัยมีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งสุโขทัยเป็นอิสระไม่ขึ้นกับขอมเมื่อราว พ.ศ.1780 และเจริญสูงสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อันเป็นสมัยที่มีการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ศิลปะสุโขทัยได้รับการยอมรับกันว่าเป็นสมัยที่ศิลปะไทยเจริญถึงขั้นสูงสุด (Classic) มีความงดงามเป็นเยี่ยม โดยเฉพาะการสร้างพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นของตนเองมากที่สุด
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/34%201.JPG) | |
ประติมากรรม
ได้แก่ พระพุทธรูปและประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม การสร้างพระพุทธรูป สมัยสุโขทัยมีการสร้าง พระพุทธรูปครบ 4 อิริยาบถ คือ พระพุทธรูปยืน นั่ง เดิน นอน
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย แบ่งออกได้เป็น 4 หมวด คือ
1. หมวดใหญ่ มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม ไม่มีไรพระศก ถ้ามีก็เป็นเส้นตื้น ๆ ไม่นูนขึ้นมากนัก พระโอษฐ์อมยิ้ม รัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก พระองค์อ่อนช้อย งามสง่า จีวรไม่แข็งกระด้าง ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ชอบทำปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบ ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง พระพุทธรูปหมวดใหญ่จัดว่า เป็นแบบสุโขทัยแท้ พบมากที่สุด และมีพุทธลักษณะงดงามเป็นเยี่ยม
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/112%201.JPG) | |
2. หมวดกำแพงเพชร แบบนี้รูปร่างหน้าตาดูจืดกว่าหมวดใหญ่ พระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/98%201.JPG) | |
/unt3/thaipic/Thai%20art2/57%201.JPG) (บน) พระพุทธชินราชองค์จำลอง (ซ้าย) พระพุทธชินราชองค์จริง
3. หมวดพระพุทธชินราช พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม พระปรางค่อนข้างอวบ พระอาการสงบเสงี่ยม พระองค์แข็งมากกว่าอ่อนช้อย ค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่มีปลายเสมอกัน เช่น พระพุทธชินราชองค์จริงที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก และพระพุทธชินราชองค์จำลองที่วัดเบญจมบพิตร
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/77%201.JPG) | |
4. หมวดเบ็ดเตล็ด หรือ หมวดวัดตะกวน พระพุทธรูปหมวดนี้มีอิทธิพลสมัยเชียงแสนมาก คือมีรัศมีเป็นดอกบัวตูม ชายจีวรหรือสังฆาฏิสั้น พระนลาฏแคบ ฐานประดับด้วยกลีบบัว พระพุทธสิหิงค์ก็ได้มากจากเกาะลังกา ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง แต่ลักษณะฝีมือช่างเป็นศิลปะไทยปนลังกา อาจจะเป็นเพราะเดิมสูญหายไป จึงหล่อขึ้นมาใหม่ หรือถูกขัดแต่งจนกลายเป็นพระพุทธรูปแบบฝีมือไทย พระพิมพ์มีทั้งทำด้วยดินเผาและโลหะ แต่ชอบทำพระปางลีลามาก และชอบทำพระประทับนั่งหลาย ๆ สิบองค์ในแผ่นพิมพ์อันเดียวกัน เรียกว่า พระกำแพงห้าร้อย นอกจากนี้ก็ยังมีเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ คือ พระอินทร์ และพระนารายณ์
(ซ้าย) พระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสมัยสุโขทัย จัดว่าเป็นศิลปะที่งดงามที่สุดของไทย
สถาปัตยกรรม
ได้แก่ การสร้างโบสถ์ วิหารและเจดีย์ ซึ่งมีลักษณะน่าสนใจดังนี้ โบสถ์ วิหาร การสร้างโบสถ์จะมีขนาดเล็กกว่าวิหารมาก เพราะวิหารเป็นที่รวมของผู้คนจำนวนมากที่มาร่วมชุมนุมปฏิบัติศาสนกิจ ส่วนโบสถ์ใช้ปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์เพียงไม่กี่รูปก็สร้างวิหารมีขนาดเล็กและสร้างให้มีหลังคาเพียงชั้นเดียว ส่วนหลังคาประดับประดาด้วยเครื่องสังคโลก เช่น ส่วนของช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ี อันเป็นลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมสุโขทัย เจดีย์ รูปแบบของเจดีย์ได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ลังกา คือ เจดีย์ทรงระฆังกลม ที่ฐานเจดีย์มีรูปช้างล้อมรอบ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม ที่อำเภอศรีสัชนาลัย สุโขทัย จัดเป็นเจดีย์ที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของสมัยสุโขทัย นอกจากนั้น สุโขทัยยังสร้างเจดีย์ที่มีลักษณะของสุโขทัยเอง เป็นแบบสุโขทัยแท้เรียกว่า “เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” คือ เป็นเจดีย์ที่มีฐานสูงย่อมุมไม้ 20 ที่สำคัญคือ องค์ระฆังทำเป็นรูปดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ นี่คือเจดีย์ที่มีลักษณะพิเศษไม่เคยมีในสมัยอื่นมาก่อนเลย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/101%201.JPG) | |
สำหรับรูปแบบของเจดีย์ได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ลังกา คือ เจดีย์ทรงระฆังกลม ที่ฐานเจดีย์มีรูปช้างล้อมรอบ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม ที่อำเภอศรีสัชนาลัย สุโขทัย จัดเป็นเจดีย์ที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของสมัยสุโขทัย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/102%201.JPG) | |
นอกจากนั้น สุโขทัยยังสร้างเจดีย์ที่มีลักษณะของสุโขทัยเอง เป็นแบบสุโขทัยแท้เรียกว่า “เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” คือ เป็นเจดีย์ที่มีฐานสูงย่อมุมไม้ 20 ที่สำคัญคือ องค์ระฆังทำเป็นรูปดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ นี่คือเจดีย์ที่มีลักษณะพิเศษไม่เคยมีในสมัยอื่นมาก่อนเลย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/04%201.JPG) | |
(ซ้าย) ประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะรอบเจดีย์สมัยสุโขทัย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/02%201.JPG) | |
จิตรกรรม
จิตรกรรมสุโขทัยเท่าที่พบหลักฐานมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เขียนตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยสีฝุ่น จึงสลายตัวไปตามกาลเวลา แต่เท่าที่พบเช่น ที่ผนังสถูปวัดเจดีย์เจ็ดแถวศรีสัชนาลัย ซุ้มสถูปวัดมหาธาตุสุโขทัย สีที่ใช้เขียนภาพได้มากจากธรรมชาติโดยตรง คือ ดินและยางไม้ มีดินสีแดง เหลือง ขาว และดินดำ มักระบายสีแดง ตัดเส้นดำ ผมดำ ผิวเนื้อขาว ลวดลายมีสีเหลืองบ้างเล็กน้อย
จิตรกรรมอีกลักษณะหนึ่ง คือการเขียนลวดลายลงบนเครื่องถ้วยชามสังคโลก ซึ่งเป็นศิลปะหัตถกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของศิลปะสมับสุโขทัย ที่ทำได้ดีและทำจำนวนมากจนสามารถส่งขายเป็นสินค้าออก แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ที่เตาทุเรียง ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองศรีสัชนาลัย
|
| |
/home/bck%20grnd/suuhd%20thai/03utong.jpg)
|
| |
Back to Top
|
| |
สมัยอู่ทอง
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/39%201.JPG) | |
ศิลปะอู่ทอง เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะทวาราวดี ขอม เชียงแสนและศิลปะสุโขทัย ศิลปะอู่ทองพบมากที่สุดในบริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา เมืองลพบุรี สุพรรณบุรี และเมืองสรรค์บุรี (อยู่ในเขตจังหวัดชัยนาท) ศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะอันเนื่องมาจาก พระพุทธศาสนานิกายหินยาน รูปแบบของศิลปะก็รับอิทธิพลจากศิลปทวาราวดี ขอม และสุโขทัย
ประติมากรรม
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า พระพุทธรูปในสมัยอู่ทองเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะตัวดียิ่งกว่า พระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์เสียอีก ซึ่งก็หมายความว่าช่างสมัยอู่ทองสร้างพระพุทธรูปแบบอู่ทอง โดยประมวลเอาอิทธิพลจากสมัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างแยบยล จนได้พระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะตัว
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/38%201.JPG) | |
/unt3/thaipic/Thai%20art2/40%201.JPG) | |
ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีไรพระศก ชายจีวรหรือสังฆาฏิตัดเป็นเส้นตรง ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยและมีฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน สำหรับอิทธิพลทวาราวดีและขอมผสมกัน พระพุทธรูป มักมีรัศมี เป็นรูปบัวตูม ส่วนอิทธิพลขอมหรือลพบุรี พระพุทธรูปจะมีรัศมี เป็นเปลว ส่วนอิทธิพลสุโขทัยนั้น ถึงแม้จะมีอิทธิพลของ ศิลปะสุโขทัยเข้ามาปนอยู่มาก แต่พระพุทธรูปก็ยังคงมีไรพระศก และฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน
|
สถาปัตยกรรม
ได้แก่ เจดีย์ที่มีทรวดทรงสูงชลูดและเป็นเจดีย์ทรายที่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี เจดีย์วัดแก้ว เมืองสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาทส่วนพระมหาธาตุ ที่จังหวัดชัยนาท อาจสังเคราะห์เข้าเป็นเจดีย์แบบอู่ทองได้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม มีเจดีย์บริวารประกอบโดยรอบ ปรางค์แบบอู่ทองก็มี เช่น ปรางค์องค์ใหญ่ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นปรางค์ที่เลียนแบบปรางค์ขอม แต่ได้แก้ไขให้มีรูปทรงสูงขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นแบบอย่างสำหรับสร้างปรางค์แบบไทย ๆ ในสมัยต่อมา
|
| | /home/bck%20grnd/suuhd%20thai/06aytya.jpg) |
| |
Back to Top
|
| |
สมัยอยุธยา
|
| |
ศิลปะอยุธยาเริ่มต้นพร้อมกับการสร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีใน พ.ศ.1893 และสิ้นสุดลงเมื่อเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 ความเชื่อของชาวกรุงศรีอยุธยามีลักษณะแตกต่าง ไปจากความเชื่อของชาวสุโขทัย แม้ว่าจะนับถือศาสนาพุทธนิกายหินยานเหมือนกันก็ตามกรุงศรีอยุธยานั้นปกครองด้วยระบบกษัตริย์โดยเชื่อว่ากษัตริย์คือ สมมุติเทพ อันเป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิเทวราชของขอม ซึ่งขอมนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู บางสมัยก็นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน เมื่อไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากขอม ความเชื่อระบบกษัตริย์และพิธีกรรมต่าง ๆ ของฮินดู ก็มาปรากฏในพิธีการต่าง ๆ ของอยุธยาด้วยการสร้างศิลปกรรมของอยุธยาจึงปรากฏอิทธิพลขอมเข้ามาด้วยอย่างชัดเจน เช่น การสร้างปรางค์หรือปราสาทแบบขอม และการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นต้น ขณะเดียวกันก็รับแบบอย่างทางศิลปะจากสุโขทัยและอู่ทองด้วย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/137%201.jpg) | | /unt3/thaipic/Thai%20art2/20%201.JPG)
ประติมากรรม
พระพุทธรูปในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย แต่ยังคงลักษณะของอู่ทองไว้บ้าง จึงดูไม่งดงามเท่าที่ควร แต่ฐานมีลวดลายเครื่องประดับมากมาย หลังจากรัชกาลของพระรามาธิบดีที่ แล้ว พระพุทธรูปนิยมสลักด้วยศิลาทรายมาก เพราะพระเจ้าปราสาททองปราบกัมพูชาได้ จึงนิยมใช้ศิลา สลักพระพุทธรูป พระพุทธรูปในสมัยพระเจ้าปราสาททองและพระนารายณ์มหาราช มักจะมีพระเนตรและพระโอษฐ์เป็นขอบสองชั้น หรือไม่ก็มีพระมัสสุเล็ก ๆ อยู่เหนือพระโอษฐ์ นอกจากการสลักพระพุทธรูปแล้ว ก็มีพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งนิยมทำกันมากในปลายสมัยอยุธยาที่เรียกว่า พระทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อย โดยเฉพาะพระทรงเครื่องน้อยจะมีกรรเจียก ยื่นเป็นครีบออกมาเหนือใบพระกรรณ ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นลักษณะแบบอยุธยาอย่างแท้จริง
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/ayuthaya%20p%201.JPG)
พระปรางค์ ศิลปะอยุธยา ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี
| |
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา แบ่งออกเป็น 4 สมัย คือ
1. สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สถาปัตยกรรมในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปแบบลพบุรีหรืออู่ทองมากกว่าสมัยสุโขทัย เช่น ที่วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระราม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดราชบูรณะ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก วัดต่าง ๆ ที่กล่าวชื่อมานี้ จะสร้างสถูปรายรอบภายในวัด เพราะถือว่าสถูปเป็นประธานของพระอาราม และมักสร้างเป็นปรางค์อย่างแบบลพบุรีหรืออู่ทอง
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/43%201.JPG)
เจดีย์สามองค์ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | | /unt3/thaipic/Thai%20art2/chai%201.JPG)
เจดีย์ที่วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สถาปัตยกรรม มีอิทธิพลของศิลปะ แบบสุโขทัยมากกว่าเก่า เปลี่ยนจากการสร้างพระสถูปเป็นพระเจดีย์อย่างทรงลังกา เช่น พระเจดีย์ใหญ่สามองค์ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระเจดีย์ใหญ่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
|
| |
3. สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงได้ขอมมาไว้ในอำนาจอีก อิทธิพลทางศิลปะขอมจึงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง เช่น การสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดที่วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในสมัยนี้เองที่มีการสร้างเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองขึ้นด้วย ที่งดงามมากคือ เจดีย์ย่อมุมไม่สิบสอง ที่วัดชุมพลนิกายาราม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ์
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/ayt.JPG)
โบสถ์วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ ( จำลอง ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทปราการ) มีเส้นแนวหลังคาที่อ่อนโค้ง | |
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก มีเสากลมและหัวเสาเป็นรูปบัวตูม
4. สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สมัยนี้นิยมสร้างเจดีย์ไม้สิบสอง ต่อเนื่องมาจากยุคก่อน แต่พระเจ้าบรมโกศทรงโปรดฯ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเก่า เช่น พระเจดีย์ใหญ่ที่วัดภูเขาทอง เป็นต้นมาในระยะปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โบสถ์วิหารมักทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง วิหารสมัยอยุธยายุคนี้จะทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง แบบตกท้องช้างหรือแบบกาบสำเภาซึ่งทำให้โบสถ์ วิหาร รู้สึกเบาเหมือนจะลอยได้ อันถือเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ส่วนผนังโบสถ์ วิหาร ก่ออิฐและเจาะผนังเป็นช่องลูกกรง เสาก่ออิฐเป็นเสากลมและแปดเหลี่ยม มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม ไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากบัวหัวเสามาก
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/38%201.JPG)
ตู้พระธรรมฝีมือครูวัดเชิงหวาย
| |
จิตรกรรม
จิตรกรรมอยุธยา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับตั้งแต่ยุคเริ่มต้นกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งเจริญสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะส่วนรวมของจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา ก็คือ นิยมใช้สีหลายสี มักปิดทองบนรูปและลวดลาย แต่การเขียนภาพต้นไม้ ภูเขาและน้ำยังแสดงให้เห็นอิทธิพลจีนอยู่บ้าง จิตรกรรมฝาผนังศิลปะอยุธยาที่เหลือให้เห็น ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังที่โบสถ์วัดใหญ่ จังหวัดเพชรบุรี เขียนเรื่องเทพชุมนุม เป็นฝีมือเขียนครั้งพระเจ้าเสือ จิตรกรรมฝาผนังที่พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ ภาพเขียนในพระสถูปใหญ่ ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
จิตรกรรมอีกประเภทหนึ่งของศิลปะอยุธยา คือ ลายรดน้ำที่เขียนประดับตู้พระธรรม ที่จัดว่างดงามที่สุด ได้แก่ ลายรดน้ำบนตู้พระธรรมฝีมือครูวัดเชิงหวาย
|
| |
/home/bck%20grnd/suuhd%20thai/07rtnksntr.jpg)
|
| |
Back to Top
|
| |
ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/08%201.JPG)
พระประธานพระอุโบสถ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
| |
สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพพระมหานครฯ ขึ้นเป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ทรงโปรดให้สร้างพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดวาอารามต่าง ๆ มีการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมตามคติแผนผังกรุงศรีอยุธยา การสร้า่งบ้านเมืองขณะนั้นทำให้บรรดาช่างก่อสร้าง ช่างปั้น ช่างเขียน จากสกุลช่างอยุธยา กรุงธนบุรี ร่วมใจกันสร้างงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และงานประณีตศิลป์ขึ้น เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมของชาติ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
ยุคที่ 1 ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ประติมากรรม
ในรัชกาลที่ 1 ไม่ค่อยพบว่าได้สร้างประติมากรรมประเภท พระพุทธรูปขึ้นมาใหม่มากนัก แต่นิยมการอัญเชิญพระพุทธรูป จากโบราณสถาน ที่รกร้างจากเมืองอื่น มาเก็บรักษาไว้ หรืออัญเชิญมาเป็น พระประธานในวัดต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ เช่น พระศรีศากยมุณี รัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐาน ไว้ที่พระอุโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/106%201.JPG)
พระพุทธรูปทองคำ ในพระอุโบสถ์วัดไตรมิตร ฯ
| |
พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ในพระอุโบสถวัดนางนอง
พระพุทธรูปทองคำ ศิลปะสมัยสุโขทัย อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นต้น การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง นิยมสร้างต่อเนื่องจากสมัยอยุธยาตอนปลาย มีทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อยเช่นกัน แต่สมัยรัตนโกสินทร์เน้นเครื่องประดับองค์มากกว่าทรวดทรงและสีพระพักตร์ เช่น พระพุทธรูปพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสนดาราม ซึ่งหล่อขึ้นในรัชกาลที่ 3
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/rat.JPG) | |
สถาปัตยกรรม
สมัยรัชกาลที่ 1 นิยมสร้าง โบสถ์ วิหาร ปราสาทราชวัง เลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น การสร้างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/prang1.JPG) | | /unt3/thaipic/Thai%20art1/prang2.JPG)
(ซ้าย) เจดีย์ย่อมุมตั้งแต่ฐานตลอดถึงองค์เจดีย์ (บน) เจดีย์ทรงลังกาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในรัชกาลที่ 2 ศิลปกรรมแบบอย่างศิลปะอยุธยา ได้รับความนิยมอย่างพร่หลาย เช่น มีการสร้างเจดีย์ย่อมุมแบบอยุธยา เช่น เจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ที่วัดพระเชตุพนฯ และเจดีย์ทรงลังกา ตามแบบอยุธยา เช่น เจดีย์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเจดีย์ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/thai2328%201.JPG) | |
/unt3/thaipic/Thai%20art2/arun%201.JPG)
เจดีย์และปรางค์ ได้รับอิทธิพลจากอยุธยาและอิทธิพลขอม เช่นการสร้างพระปรางค์ แต่ได้มีการแก้ไขรูปทรงของปรางค์อยุธยา จนได้ลักษณะเฉพาะของปรางค์สมัยรัตนโกสิทร์คือ เป็นปรางค์ที่มีฐานสูงเรือนธาตุและยอดเล็ก ส่วนยอดมีปรางค์เล็กประดับสี่ทิศ เช่น ปรางค์วัดอรุณราชวราราม และปรางค์ที่วัดราชบูรณะเชิงสะพานพุทธยอดฟ้าฯ กรุงเทพมหานคร
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/36%201.JPG)
ศิลปจีนที่ปรากฎในสถาปัตยกรรมไทย ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
| |
ส่วนสมัยรัชกาลที่ 3 นิยมสร้างโบสถ์ วิหาร อันได้รับอิทธิพลจากจีน เพราะมีการติดต่อค้าขายกับจีน จึงนำเอาอิทธิพลสถาปัตยกรรมจีนมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทย จนได้ลักษณะสถาปัตยกรรม ตามพระราชนิยม ในรัชกาลที่ 3 คือ โบสถ์ วิหาร จะไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ดังแต่ก่อน เช่น พระวิหารที่วัดเทพธิดาราม วิหารวัดกัลยาณมิตร กรุงเทพมหานคร เป็นต้น การประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 นิยมตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยชามเบญจรงค์เป็นลายดอกไม้ เช่นที่หน้าบัน โบสถ์ วิหาร มณฑป และซุ้มประตูทรงมงกุฎ ทำให้ดูงดงามแปลกตา
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/44%201.JPG) | |
(ซ้าย) ประติมากรรมรูปยักษ์ขนาดใหญ่ ติดตั้งในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 |
/unt3/thaipic/Thai%20art1/achan%20nak04%201.JPG)
ุจิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตร วัดระฆัง ฝีมือพระอาจารย์นาก
| |
จิตรกรรม
จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรอยุธยาตอนปลาย จิตรกรรมที่สำคัญ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังที่หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม ฝีมือของพระอาจารย์นาก ผู้ทรงสมณเพศ อยู่ที่วัดทองเพลง ปัจจุบันยังมีสภาพดีอยู่มาก
จิตรกรรมฝาผนังเจริญถึงขั้นสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวได้ว่า เป็นยุคทองของจิตรกรรมไทยโดยแท้ จิตรกรที่สำคัญได้แก่ ครูคงแป๊ะ (หลวงเสนีย์บริรักษ์) และครูทองอยู่ (หลวงวิจิตรรัษฎา) ซึ่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังประชันกันที่ อุโบสถวัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ และยังมีผลงานของจิตรกรที่สำคัญอีกหลายท่าน ที่มีผลงานปรากฎ อยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดทองธรรมชาติ วัดบางขุนเทียนนอก เป็นต้น โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับพุทธศาสนา
จิตรกรรมฝาผนัง ในสมัยนี้ มีลักษณะการจัดองค์ประกอบภาพ ส่วนใหญ่ เป็นดังนี้ คือ ตอนบนของผนังเขียนภาพ เทพชุมนุม เรียงขึ้นไป 2 - 4 ชั้น ทุกภาพหันหน้าไปทางพระประธานในโบสถ์ตอนล่างแถวเดียวกับหน้าต่าง เขียนเป็นภาพพุทธประวัติหรือทศชาติ ด้านหน้าพระประธาน (หน้าหุ้มกลอง) เขียนภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย ภาพเขียนในสมัยนี้ล้วนใช้สีหลายสีและปิดทองบนภาพทั้งสิ้น สีพื้นเป็นสีเข้มกว่าสมัยอยุธยาอย่างมาก
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/kongpae%20tongyoo1%202.JPG)
| | /unt3/thaipic/Thai%20art1/tongyoo%201.JPG)
จิตรกรรมฝาผนังภายใน พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม ฝีมือครูคงแป๊ะ (ซ้าย) และครูทองอยู่ (ขวา) |
| |
รูปแบบต่าง ๆ ในศิลปะรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1 - 3 เป็นไปตามเหตุของการก่อตั้งราชธานี ขึ้นใหม่ โดยมีแนวคิดเบื้องต้น จากคติ ความเชื่อ ของอารยธรรมของอยุธยา และพัฒนามาเป็นลำดับ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะของพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์
|
| | ยุคที่ 2 ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา อยู่ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลง พัฒนาบ้านเมือง มีการเปิดสัมพันธ์ไมตรีกับ ต่างชาติ โดยเฉพาะกับชาติตะวันตก กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงดำเนินพระราโชบายเป็นการติดต่อสัมพันธ์กับชาวตะวันตกอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในอดีตกาล รัชสมัยของพระองค์เป็นเหมือนหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิรูปบ้านเมืองครั้งสำคัญยิ่ง เหล่านี้ ทำให้เกิดมีการผสมผสาน การสร้างงานศิลปกรรมขึ้น ระหว่าง รูปแบบศิลปะิเดิมของไทย กับรูปแบบ และกฎเกณฑ์ทางศิลปกรรมตะวันตก ส่งผลให้ศิลปกรรมของไทยในยุคที่ 2 นี้ มี่ลักษณะใหม่แปลกตาขึ้น
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/krua%20in%20kong01%202.JPG)
จิตรกรรมฝาผนังภายใน พระอุโบสถวัดบวรนืเวศ วิหาร ฝีมือขร้วอินโข่ง
| |
จิตรกรรม
มีการนำความเชื่อในสร้างจิตรกรรมแนวอุดมคติแบบไทย ผสมกลมกลืนกับแนวเหมือนจริงแบบตะวันตก มีการนำ วิธีการทัศนียวิทยา (Perspective) ที่แสดงความลึกเป็น 3 มิติ มีระยะใกล้ ไกล และวิธีการจัดภาพแบบเป็นจริงในธรรมชาติ มาใช้ในการเขียนภาพ จิตรกรคนสำคัญที่เขียนภาพในลักษณะดังกล่าว ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ ขรัวอินโข่ง ซึ่งมีผลงานปรากฎในโบสถ์วัดบรมนิวาส วัดบวรนิเวศวิหาร ในกรุงเทพมหานคร วัดมัฌิมาวาส สงขลา
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/krua%20in%20kong02%201.JPG) | | /unt3/thaipic/Thai%20art1/krua%20in%20kong03%201.JPG)
เนื้อหาในจิตรกรรมของขรัวอินโข่งนอกจากจะยังคงแนวเรื่องในทางพุทธศาสนาไว้แล้ว ยังนำเสนอ เรื่องราวของ ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมของสังคมสมัยนั้น เช่น สภาพอาคารบ้านเรือน วิถีชีวิตและการแต่งกาย เป็นต้น
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/r5.JPG)
พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนโดย พระสรลักษณ์ลิขิต
| |
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกได้ว่าเป็นยุคของการปฏิรูป (Age of Reform) หรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย เพราะสมัยนี้ ลัทธิอาณานิคมได้ปรากฏตัวให้เห็นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามจากอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งกลายเป็นผลกระทบทางด้านการศึกษา ของไทย เพื่อที่จะตอบโต้กับอิทธิพลนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ยอมรับการศึกษาแบบตะวันตก และได้มีการส่งบุตรหลานไปศึกษาในต่างประเทศในที่สุด กล่าวเฉพาะสำหรับด้านศิลปกรรม สภาพของสังคมไทยในช่วงนั้น ทำให้มีการนำอิทธิพลศิลปกรรมตะวันตกเข้ามาปรับปรุงอย่างมากมาย เพื่อความมุ่งหมายที่จะยกระดับของประเทศ ให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
ช่างไทยในสมัยนี้ ได้ร่วมปฏิบัติงาน ศึกษา เรียนรู้ การสร้างศิลปะแนวตะวันตกเพิ่มขึ้น เป็นการให้อิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ แนวคิด มากขึ้น เช่นมีการเขียนภาพเหมือนของบุคคล ซึ่งแต่ก่อนไม่นิยม และการเขียนภาพ ไม่ใช่เพื่อตกแต่งโบสถ์ วิหาร ตามความศรัทธาในศาสนาเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่เป็นการเขียนภาพเพื่อประดับ ในวังหรือในบ้าน ส่วนลักษณะการเขียนภาพคน ก็มีการเขียนกล้ามเนื้อ และสัดส่วน ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงในธรรมชาติ
|
| | /unt3/thaipic/Thai%20art2/70%201.JPG)
ศิลปินที่สำคัญในสมัยนี้อีกพระองค์หนึ่งก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผลงานของพระองค์จะมีลักษณะไทยผสมเหมือนจริง รูปคนจะมีกล้ามเนื้อตามหลักกายวิภาค ส่วนภาพทิวทัศน์จะมีระยะตื้นลึก ตามแนวตะวันตก
|
| |
ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สั่งช่างเขียนจากอิตาลี คือ นายคาร์โล ริโกลี่ (Carrlo Rigoli) มาร่วมกับช่างเขียนไทย เขียนภาพตกแต่งพระราชวัง และพระที่นั่งต่าง ๆ เช่นภาพพระกรณียกิจของรัชกาลที่ 5 ภายในโดม ของพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/56%202.JPG)
พระที่นังจักรีมหาปราสาท
| |
สถาปัตยกรรม
สมัยรัชกาลที่ 5 จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสยุโรปถึง สองครั้ง จึงได้ทรง นำแนวคิด รูปแบบศิลปะทางยุโรป ตลอดจนนำสถาปนิก จิตรกร ประติมากร ชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวอิตาลี มาปฏิบัติงาน ในประเทศไทย จึงเกิดสถาปัตยกรรม เกิดอาคารรูปทรงแปลกตาเกิดขึ้นในยุคนี้มากมาย เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นแบบตะวันตกผสมแบบไทย อาคารพระที่นั่งอนันตสมาคม สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยเรเนอซองส์ ของอิตาลี โบสถ์วัดนิเวศธรรมประวัติที่บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมของโกธิค (Gothic) และในการสร้างงานสถาปัตยกรรมเหล่านั้น ได้มีการนำเอาจิตรกรรม และประติมากรรมเข้าไปตกแต่งค้วย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/52%201.JPG)
พระที่นังอนันตสมาคม
| |
พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออกอย่างลงตัว คือใช้วัสดุหินอ่อนจากตะวันตกแต่รูปแบบเป็นแบบไทย
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/house200_3.jpg) | |
สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ประเภทที่อยู่อาศัย เริ่มได้รับอิทธิพลจากรูปแบบตะวันตก |
/unt3/thaipic/Thai%20art1/sihing%202.JPG)
พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานภายใน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
| | /unt3/thaipic/Thai%20art2/58%201.JPG)
พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ในอุโบสถวัดราชาธิวาส ศิลปะรัตนโกสินทร์
ประติมากรรม
การสร้างพระพุทธรูป นอกจากการสร้างพระพุทธรูปเลียนแบบพระพุทธรูปสมัยอื่น ๆ แล้วยังหันมาสร้างพระพุทธรูป ที่มีรูปร่างเหมือนคนจริง มีกล้ามเนื้อ และมีสัดส่วน ถูกต้อง เช่น รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร พระประธานในอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ หล่อจำลองจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐาน ณ วัดราชาธิวาส
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/76%201.JPG)
พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในวัดเบญจมบพิตร ศิลปะสุโขทัย
| |
รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธวชิรญาณในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศ อุทิศถวายรัชกาลที่ 4 และทรงโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธอังคีรส และพระพุทธชินราช เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธและวัดเบญจมบพิตร
ในสมัยนี้ประติมากรไทย ได้สร้างงานประติมากรรม และงานตกแต่งศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ได้แก่ การปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาลที่ 1 , 2 และ 3 สัตว์หิมพานต์ เทพชุมนุม ครุฑ ยักษ์ ประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประติมากรที่มีส่วนนี้ คือ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเปิดรับอารยธรรมตะวันตกอย่างเต็มที่ มีการนำประติมากรรมเหมือนจริง รูปสลักทำด้วยหินอ่อน สั่งมาจาก ยุโรป มาประดับประดา พระบรมมหาราชวัง และพระราชวัง หลายแห่ง อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐานที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ก็สั่งทำจากประเทศอิตาีลีื
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/silp%201.JPG)
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ภาพเขียนโดย อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ พ.ศ. 2505
| |
สมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจากศิลปกรรมแนวตะวันตกโดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ได้แผ่อิทธิพลอย่างรวดเร็ว พระองค์ทรงเกรงว่า ศิลปกรรมไทยจะเป็นแนวตะวันตกเสียหมด และขาดการดูแลอย่างเป็นระบบ จึงทรงโปรดให้ตั้งกรมศิลปากรขึ้นในปี พ.ศ. 2455 เพื่อพัฒนาศิลปกรรมไทยให้เป็นระะบบและมีทิศทางที่แน่นอน ดำรงรักษาความเป็นไทยให้ก้าวหน้าสืบไป
ในปี พ.ศ. 2456 ได้ทรงโปรดให้ตั้งโรงเรียนเพื่อการเรียนการสอน ทางด้านงานช่างศิลป์ของไทยขึ้น โดยพระราชทานชื่อว่า โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนศิลปะแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่ัหัว ได้ทรงเห็นความจำเป็นในการทำรูปปั้นอนุสาวรีย์ รูปปั้นและเหรียญตราต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2488 จึงสั่งประติมากรจากอิตาลี ชื่อ ศาสตราจารย์ คอราโด เฟอโรชี่ (Corrado Feroci) ซึ่งต่ิอมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อและโอนสัญชาติเป็นไทย เป็นศิลป์ พีรศรี มาดำเนินงานเกี่ยวกับอนุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย ที่สำคัญไว้หลายแห่ง และนับเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ศิลปะของไทย ทั้งในด้านการจัดการศึกษาศิลปะ และวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทย ซึ่งส่งผลต่อมาถึงพัฒนาการศิลปะร่วมสมัยของไทยในปัจจุบัน
|
/unt3/thaipic/Thai%20art2/11%201.JPG)
จิตรกรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
| | ยุคที่ 3 ตั้งแต่รัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 9
ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ได้มีการบูรณะภาพเขียนในวัดพระศรีรัตนศาสคาราม ครั้งใหญ่ จิตรกรที่เป็นแม่กองควบคุมงาน คือ พระเทวาภินิมิตร และจิตรกรท่านอื่น ๆ คือ หลวงเจนจิตรยง ครูทองอยู่ อินมี ครูเลิศ พ่วงพระเดช นายสวง ทิมอุดม และศิลปินร่วมงานอีกประมาณ 70 คน ภาพเขียนในวัดพระศรีรัตนศาสคาราม มีวิธีการเขียนภาพแบบตะวันตกที่แสดงระยะใกล้ไกล มีความลึกทั้งในการจัดองค์ประกอบภาพ และสิ่งก่อสร้างของ ปราสาทราชวัง แต่ลักษณะรูปทรงของตัวพระ ตัวนาง ตัวละครอื่น ๆ และเรื่องราวเนื้อหาที่นำมาเป็นโครงเรื่อง ยังคงลักษณะ รูปแบบจิตรกรรมไทยอยู่
|
| |
ในยุคนี้ มีจิตรกรที่สำคัญอีกคนหนึ่งที่สร้างจิตรกรรมในแนวใหม่ คือ พระอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ใช้เทคนิคการเขียนภาพโดยใช้สีน้ำมัน และรูปแบบนั้น เป็นแบบสากล ที่แสดงกายภาค และหลักทางทัศนียวิทยา ที่ถูกต้อง มีการใช้แสงเงา สร้างบรรยากาศให้ภาพดูเป็นจริงตามธรรมชาติ
/unt3/thaipic/Thai%20art1/jitkon%201.JPG)
จิตรกรรมโดยพระอนุศาสตร์จิตรกร ในอุโบสถวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้โครงเรื่องที่เขียนขึ้นมาใหม่ จากประวัติศาสตร์ไทยตอนประวัติพระนเรศวรมหาราช
|
| |
ในปี พ.ศ. 2477 มีการจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นโรงเรียน ศิลปากรแผนกช่าง สถานศึกษาแห่งนี้ จัดการศึกษา เกี่ยวกับวิชาชีพทางจิตรกรรม และประติมากรรม ทั้งรูปแบบศิลปะไทยประเพณี และแบบสากล ทำให้ประเทศไทยมีศิลปินที่มีความสามารถ หลายคน ซึ่งได้เป็นกำลังสำคัญของชาติในการสร้างผลงานศิลปกรรม แลพัฒนาศิลปกรรมไทยในสมัยต่อมา
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/demo%201.JPG)
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี สร้างในปี พ.ศ. 2482 - 2483
| |
ในสมัยรัชกาลที่ 8 ศิลปะไทย มีการเคลื่อนไหวในระยะสั้น ๆ เนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียน ศิลปากรแผนกช่าง ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคณะแรก โดนเปิดสอนศิลปะ 2 สาขา คือสาขาจิตรกรรม และสาขาประติมากรรม มีศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี เป็นคณบดี นับเป็นสถาบันการศึกษาด้านศิลปะ แห่งแรกของประเทศ มีผลให้ศิลปกรรมไทยช่วงนี้ มีการตื่นตัวในการสร้างสรรค์สูง ทำให้เกิดผลงานศิลปะที่มีคุณค่า และมีแนวทางที่หลากหลาย ทั้งในแนวไทยประเพณี และแนวตะวันตก
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/king%202%201.JPG) | |
ส่วนหนึ่งของภาพเขียนฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาศิลปะด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากษัตริย์ ในราชวงศ์จักรี ที่ทรงปฎิบัติงานสร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ และพระราชทานผลงานเข้าร่วมแสดง กับศิลปินไทยทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา
|
/unt3/thaipic/Thai%20art1/p%20monton2%201.JPG) | | /unt3/thaipic/Thai%20art1/p%20monton1.JPG)
พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล ศิลปะรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 9 |
| |
กระแสอิทธิพลของลัทธิศิลปะ อันเป็นสากล ย่อมมีผลต่อแนวทางการสร้างสรรค์ และรูปแบบของศิลปินไทย ในสมัยรัชกาลที่ 9 เป็นยุคที่ศิลปะไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นตัวของตัวเอง และค้นหาแนวทางส่วนตัวศิลปิน มีอิสระใหการนำเสนอรูปแบบที่มีเนื้อหา มากกว่าแต่ก่อน เช่นการสร้างงานศิลปะที่มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาลักษณะ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนอย่างกว้างขวาง ศิลปะที่เกิดขึ้น จึงได้สะท้อนแนวคิด ปรัชญา และเทคนิควืธีการ ตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ศิลปกรรมไทยได้ก้าวย่างเข้าสู่ความเป็นศิลปะร่วมสมัย กับศิลปะสากลอย่างแท้จริง
ที่มา: http://www.media.rmutt.ac.th/wbi/Education.../ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น